Our Sponsors

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย


บทที่ 25
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
         ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย มีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรจำนวนมาก   และมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้แทน โดยก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากขึ้น

  ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย มีดังนี้ 
1.  ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นตามเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เป็นต้น
2.  ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหญ่
3.  ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สารพิษกำจัดแมลงทางการเกษตร
4.  ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืดที่เกิดจากการทำลายป่าเพื่อการเกษตร การขยายตัวของชุมชนและเมืองต่าง     ที่ก่อให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมคุณภาพ
5. ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล
6. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าหรือบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน
7. ปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน
8. ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคเหนือ

ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า
    สาเหตุ เกิดจากการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ และบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ดินเกิดการพังทลายและไม่มีความอุดมสมบูรณ์และทำให้แม่น้ำลำธารตื้นเขิน
    แนวทางแก้ไข 
1. ป้องกัน ควบคุมการตัดไม้ทำลายป่า
2. ขยายเขตพื้นที่ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ และรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
3. ให้การศึกษาแก่ประชาชนในความสำคัญของป่าไม้ ตลอดจนวิธีการอนุรักษ์ป่าไม้
4. ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อทดแทนป่าที่ถูกทำลายไป
5. เร่งทำแผนอพยพชุมชนและคนออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์
6. ปฏิเสธการรับรอง "สิทธิชุมชน" ในการตั้งถิ่นฐานในผืนป่า
ปัญหาการพังทลายของดิน 
    สาเหตุเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าของภาคเหนือมีสูงถึงร้อยละ 60 ของภาค และยังเป็นพื้นที่ราบสูงทำให้ปัญหาการพังทลายของดินมีมาก
    แนวทางแก้ไข 
1. ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
2. แบ่งพื้นที่การใช้ดินให้เหมาะสม
3. มีมาตรการควบคุมการตัดไม้ทำลายป่า
4. ส่งเสริมการปลูกพืชแบบขั้นบันได การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชสลับแถว
ปัญหาการขยายตัวของสังคมเมือง
     สาเหตุเกิดจากการขายตัวของชุมชนมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ เป็นต้น
     แนวทางแก้ไข 
1. ส่งเสริมและฝึกอาชีพต่าง ๆ แก่ประชาชน
2. ให้การศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เช่น โครงการพัฒนาชาวไทยภูเขา
3. ปราบปรามและลงโทษผู้ค้ายาเสพย์ติดอย่างเด็ดขาด
4. พัฒนาคนให้มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกัน
ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน 
     เนื่องจากภาคเหนือเป็นพื้นที่ราบสูงสลับกับภูเขา ทำให้ขาดที่ดินในการประกอบอาชีพเกษตร
     แนวทางแก้ไข
1. ปรับปรุงคุณภาพของดินให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
2. ให้ความรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกรในการใช้ประโยชน์จากที่ดินของตน

2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขภาคกลาง

ปัญหาการใช้ที่ดิน
    1. ใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน
    2. มีการเพาะปลูกไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน
    3. มีการปลูกพืชที่ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน
    4. เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
แนวทางแก้ไข 
1. หลีกเลี่ยงการขยายเมืองในพื้นที่ที่ใช้ในการทำเกษตร
2. ปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพดิน
3. ให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
4. จัดให้มีการปฏิรูปที่ดิน ในการปรับปรุงและสิทธิในการถือครองที่ดิน
ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ 
      ภาคกลางอยู่ในเขตเงาฝน ปริมาณน้ำฝนที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ จึงเกิดปัญหา การขาดแคลนน้ำ
แนวทางแก้ไข 
1. พัฒนาการชลประทานให้กระจายไปทั่วทุกพื้นที่
2. พัฒนาแหล่งน้ำที่ตื้นเขินให้สามารถเก็บกักน้ำได้
3. ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำลำคลองที่ก่อให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขิน
ปัญหาการหนุนของน้ำทะเล 
     เนื่องจากภาคกลางเป็นพื้นที่ราบลุ่ม จึงเกิดปัญหาน้ำทะเลหนุนขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผล และการเกษตร
แนวทางแก้ไข 
1. กรมชลประทานได้ช่วยขุดคลองส่งน้ำเลี้ยงต้นไม้ในฤดูแล้ง เพื่อช่วยให้ความเข้มข้นของน้ำทะเลลดลง
2. สร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเลในระยะที่น้ำทะเลหนุน ปัญหาการทำลายป่าห้วยขาแข้ง
3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัญหาเกี่ยวกับการพังทลายของดิน 
     1. ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดเอียง ก่อให้เกิดการพังทลายของดินได้ง่าย
     2. ความรุนแรงของลักษณะภูมิอากาศ เช่น แห้งแล้งมาก ร้อนมาก หรือมีน้ำหลากในช่วงเกิดพายุดีเปรสชัน ก่อให้เกิดการพังทลายของดิน
     3. ลักษณะเนื้อดินเป็นหินทรายน้ำซึมผ่านได้ง่าย จึงเกิดการพังทลายได้
     4. ขาดพืชปกคลุ่มดินเนื่องจากไม่มีป่าไม้เหลืออยู่
แนวทางแก้ไข 
1. ควบคุมและป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า
2. ห้ามการเพาะปลูกพืชที่ผิดวิธี
3. ควรปลูกพืชแบบวิธีขั้นบันไดในบริเวณที่มีพื้นที่ลาดเอียง
4. ควรปลูกพืชคลุมดินบริเวณที่มีการพังทลายของดิน
5. ควรสร้างเขื่อนขนาดเล็กเพื่อคั่นร่องน้ำให้เก็บกักน้ำไว้

ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง 
       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนน้ำมากในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากพื้นดินเป็นดินปนทราย และมีพื้นที่ลาดเอียง ทำให้น้ำซึมอย่างรวดเร็วและไหลลงสู่แม่น้ำลำธารอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการพังทลายของดินทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน
แนวทางแก้ไข
1. ควบคุมและป้องกันการทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติ
2. สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ หรือฝาย
3. ปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติให้สามารถรองรับปริมาณน้ำได้มากที่สุด
4. ขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน
5. ควบคุม และป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าในต้นน้ำลำธาร
6. สร้างถังน้ำคอนกรีตสำหรับหมู่บ้านเพื่อเก็บน้ำฝนไว้ใช้
7. ให้ความรู้แก่ประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ

ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า 
       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีพื้นที่ป่าไม้น้อยมาก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การกระจายตัวของประชากร และการเพาะปลูกที่ผิดหลัก จนเป็นเหตุให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาถิ่นทำกิน
แนวทางแก้ไข 
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของป่าไม้
2. ส่งเสริมการปลูกป่าทดแทนและปรับปรุงต้นน้ำลำธาร
3. ร่วมมือกับกรมป่าไม้ในการอนุรักษ์และรักษาป่าไม้
4. ช่วยกันรักษาป่าธรรมชาติบริเวณต้นน้ำลำธาร

ปัญหาการเติบโตของชุมชนเมือง
       ชุมชนเมืองใหญ่ ๆ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา เป็นต้น ก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาขยะมูลฝอย ตามมามากขึ้น
แนวทางแก้ไข 
ควรวางแผนและมีมาตรการในการจัดระเบียบ การวางผังเมือง และเขตอุตสาหกรรมให้ถูกต้องและสามารถควบคุมได้


4. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ไขปัญหาในภาคตะวันออก

ปัญหาการพังทลายของดิน 
      สาเหตุเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า และการปลูกพืชที่ก่อให้เกิดดินเสื่อมคุณภาพขาดความอุดมสมบูรณ์ เช่น มัน สำปะหลัง อ้อย เป็นต้น
แนวทางแก้ไข 
1. ให้ความรู้ในการรักษาป่าและการสงวนป่าที่เป็นต้นน้ำ
2. ปลูกป่าทดแทนในบริเวณที่เคยเป็นป่าไม้
3. เลิกการเพาะปลูกแบบทำไร่เลื่อนลอย
4. ส่งเสริมการปลูกพืชที่ช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์
5. ควรป้องกันและรักษาป่าธรรมชาติ

ปัญหาการบุกรุกทำลายป่าไม้และป่าชายเลน 
       จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเล 5 จังหวัด เพื่อใช้ปลูกพืชไร่
แนวทางแก้ไข 
ควรกำหนดพื้นที่ในการเพาะปลูกให้แน่นอน และกำหนดพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์และป้องกันการบุกลุกทำลายป่า

ปัญหามลพิษบริเวณชายฝั่งทะเล 

       ภาคตะวันออกเป็นเขตพื้นที่อุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ทำให้มีการปล่อยน้ำเสียและกากสารพิษลงสู่ทะเล
แนวทางแก้ไข
ควรควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีการจัดระบบการบำบัดน้ำเสียและกากสารพิษให้เคร่งครัด

ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด
       สำหรับอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลในช่วงฤดูแล้ง
แนวทางแก้ไข 
ควรมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ และพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทุกฤดู และไม่ควรตัดไม้ทำลายป่า

ปัญหาการรับเอาวัฒนธรรมกระแสใหม่ 

      ภาคตะวันออกกำลังพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ก่อให้การดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป เช่น การแต่งกาย การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย
แนวทางการแก้ไข 
ให้ความรู้และปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ตลอดจนการอนุรักษ์วัฒนธรรมต่าง ๆ ของไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของชาติต่อไป

ปัญหาชายแดนและความมั่นคงของชาติ 
       ภาคตะวันออกมีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนของประเทศกัมพูชา จึงเกิดปัญหาเกี่ยวกับการอพยพของผู้ลี้ภัย ปัญหา การล่วงล้ำอธิปไตย ปัญหาการลักลอบขนสินค้าและอาวุธ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติเป็นอย่างยิ่ง
แนวทางแก้ไข 
1. หามาตรการในการป้องกันชายแดนให้เข้มงวดขึ้น
2. ผลักดันให้ผู้ลี้ภัยออกจากประเทศ โดยร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ

5. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ปัญหาในภาคตะวันตก

ปัญหาการพังทลายของดิน 
        ภาคตะวันตกเป็นเขตภูเขา มักจะมีปัญหาการพังทลายของดินอย่างรุนแรง เนื่องจากการถางป่า โค่นป่า เพื่อเพาะปลูกแบบไร่เลื่อนลอย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ก่อให้เกิดความแห้งแล้งหรือน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากได้ง่าย
แนวทางแก้ไข 
1. ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อรักษาต้นน้ำลำธาร
2. ควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำโดยการชลประทาน

ปัญหาการขาดแคลนน้ำ 
        ภาคตะวันตกอยู่ในพื้นที่เขตเงาฝน หรืออับฝน จึงก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำทั้งในด้านอุปโภคและบริโภค และการเกษตรของประชากรในภาคนี้
แนวทางแก้ไข 
1. ส่งเสริมการปลูกป่า และอนุรักษ์ป่าไม้ ตลอดจนมีการลงโทษผู้กระทำผิดในการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า
2. ควรพัฒนาแหล่งน้ำโดยการสร้างเขื่อน ฝายและอ่างเก็บน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำ

ปัญหาการบุกรุกทำลายป่าไม้ 
       พื้นที่ที่เกิดปัญหามากที่สุดคือบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร และเขื่อนน้ำโจน ที่มักจะพบปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า มากที่สุด
แนวทางการแก้ไข 
ให้ความรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนในท้องถิ่น ในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

ปัญหาน้ำทะเลทะลักเข้าพื้นที่ 

       แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำเพชรบุรี ในช่วงฤดูฝนจะมีปัญหาน้ำทะเลหนุนเข้าพื้นที่การเพาะปลูกการเกษตร พืช สวนมากทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก
แนวทางการแก้ไข 
สร้างทำนบกั้นไม่ให้น้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่

ปัญหาน้ำเน่าเสียของแม่น้ำแม่กลอง 
แนวทางแก้ไข 

ควรควบคุมและป้องกันไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ และช่วยกันฟื้นฟูลำน้ำระหว่างชุมชนกับวัด

ปัญหาสารพิษตกค้างจังหวัดกาญจนบุรี 
แนวทางการแก้ไข
ควรจัดให้มีมาตรการควบคุมการกำจัดสารพิษอย่างถูกต้องและเคร่งครัดในจังหวัดกาญจนบุรี

6. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคใต้

ปัญหาการสูญเสียป่าชายเลน 
      เป็นปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวของเกษตรกรนากุ้งและการประมงชายฝั่ง
แนวทางแก้ไข
ควรร่วมมือกันฟื้นฟูสภาพชายฝั่งทะเล

ปัญหาความขัดแย้งของเกษตรกรนากุ้งและนาข้าว 

แนวทางการแก้ไข
ควรแบ่งพื้นที่ทำการและสร้างระบบกั้นน้ำเค็มระหว่างเกษตรกรนากุ้งและนาข้าวให้แยกจากกัน

ปัญหาดินเค็ม 
      ภาคใต้มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน จึงเกิดปัญหาน้ำทะเลท่วมขังเป็นจำนวนมาก
แนวทางแก้ไข
ควรมีระบบการระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังและควรสร้างประตูบังคับน้ำปิดกั้นไม่ให้น้ำทะเล ไหลเข้า

ปัญหาอันตรายจากพายุ 
      เนื่องจากภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทะเลจีนใต้และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ทำให้เกิดพายุและดีเปรสชัน ลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรแคบ ๆ ยื่นไปในทะเลจึงทำให้เกิดอันตรายจากพายุได้ง่าย
แนวทางแก้ไข
ควรให้ความรู้และความเข้าใจในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ และไม่ควรตัดไม้ทำลายป่า

ปัญหาการอพยพเข้ามาของแรงงานชาวพม่า 

      เนื่องจากภาคใต้มีพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศพม่า และมีแผนการพัฒนาเมืองตามโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ทำให้ต้องใช้แรงงานในการก่อสร้างเพิ่มจำนวนมากขึ้น
แนวทางแก้ไข
ทุกองค์กรควรร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา และส่งเสริมให้คนในสังคมร่วมมือกัน

ปัญหาการทำเหมืองแร่ 

      ภาคใต้จะมีการประกอบอาชีพการทำเหมืองแร่มากที่สุด และเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปไม่สามารถหามาทดแทนได้ จึงเกิดปัญหาการแย่งชิงครอบครองแหล่งแร่ การซื้อขายและขาดการอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ เนื่องจากมีกฎหมายที่ไม่รัดกุม
แนวทางแก้ไข 
1. ควรมีมาตรการและการลงโทษอย่างเคร่งครัดหากไม่
2. ปฏิบัติตามกฎหมายและพระราชบัญญัติแร่
3. ส่งเสริมให้มีการใช้แร่ที่ปริมาณมากแทนแร่ที่มีปริมาณน้อยแทน

ปัญหาชายแดน 
      พื้นที่ของภาคใต้มีชายแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาขบวนการโจรก่อการร้าย       ปัญหาการลุกล้ำแนวเขตแดนของไทย ปัญหาการลักลอบขนสินค้าหนีภาษีและอาวุธ ปัญหาผู้ลี้ภัย       ส่วนปัญหาการล่วงเกินน่านน้ำของชาวประมงภาคใต้เป็นกรณีพิพาทที่สามารถเจรจาตกลงกันได้
แนวทางแก้ไข 
1. สร้างเสริมความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างสองประเทศ
2. ควบคุมและป้องกันการลักลอบขนสินค้าและอาวุธอย่างเคร่งครัด
3. ให้ความรู้และเข้าใจแก่ชาวประมงเกี่ยวกับเขตแดนน่านน้ำของไทยให้ถูกต้อง


ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

ปัญหาความหนาแน่นของประชากร 
      เนื่องจากกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นศูนย์กลางของประเทศ และมีความสำคัญในด้านต่าง ๆ
ประชากรจึงอพยพเข้ามาอยู่เพื่อประกอบอาชีพมากขึ้น จึงก่อให้เกิดปัญหาความหนาแน่นของประชากร
แนวทางแก้ไข 
1. กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ให้ประชากรไม่ต้องอพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯและเขตปริมณฑล
2. หามาตรการจัดวางผังเมืองและจัดระเบียบให้เหมาะสมกับจำนวนประชากร
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อให้เกิดความเข้าใจและร่วมมือกันปฏิบัติ

ปัญหาการจราจรแออัด 
แนวทางแก้ไข
1. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และลงโทษผู้ฝ่าฝืน
2. ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ
3. ขยายและเชื่อมโยงถนนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
4. รณรงค์ให้ผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวมาใช้บริการของขนส่งมวลชน

ปัญหาพื้นที่ทรุดตัว 
       เนื่องจากมีการก่อสร้าง การขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดพื้นดินทรุดตัวต่ำลง
แนวทางแก้ไข 
1. ควบคุมการขุดเจาะน้ำบาดาล และการสร้างตึกขนาดใหญ่
2. จัดหาน้ำประปาให้เพียงพอสำหรับการใช้ของประชากร

ปัญหาน้ำท่วมและน้ำทะเลหนุน 
       กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นที่ลุ่มต่ำกว่าระดับน้ำทะเล จังก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ และปัญหาน้ำทะเลทะลักเข้าพื้นที่ทำเกษตร ซึ่งได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
แนวทางแก้ไข 
1. สร้างเขื่อนกั้นคลองที่ต่อเนื่องกับทะเล เพื่อกั้นไม่ให้น้ำทะเลทะลักเข้า
2. สร้างประตูระบายน้ำ และขุดลอกคลองน้ำที่ตื้นเขิน
3. ปฏิบัติตามโครงการพระราชดำริ "โครงการแก้มลิง" เพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ

ปัญหาการขยายตัวของเมืองและเขตอุตสาหกรรม 

       การขยายตัวของเมืองก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อม ดังนี้
             - มลพิษทางอากาศ สาเหตุมีจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น
             - มลพิษทางน้ำ สาเหตุจากการระบายของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชน
             - มลพิษทางเสียง สาเหตุจากมียานพาหนะทางบกและทางน้ำมีจำนวนมากขึ้น
             - การทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำลำคลอง ก่อให้เกิดน้ำเน่าเสียและมีสารพิษเจือปน
แนวทางแก้ไข 
1. วางแผนควบคุมการขยายตัวของเมืองและเขตอุตสาหกรรมให้เคร่งครัดและปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
2. เผยแพร่ความรู้และให้ความร่วมมือกันระหว่างประชาชน ภาคเอกชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในการสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่น    โครงการตาวิเศษ เป็นต้น

1 ความคิดเห็น: