วิธีป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม ด้วยท่านั่งทำงานคอมที่ถูกต้อง
ในตอนที่แล้วได้บอกถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะอาการโรคของคนที่ชอบทำงานกับคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นประจำ อย่าง โรคออฟฟิศ ซินโดรม ซึ่งถ้าเป็นอยู่อย่างนี้อาจถึงขั้นรุนแรงจนเรื้อรัง รักษาหายยากได้ วันนี้มาดูวิธีป้องกันโรคนี้กันด้วยการนั่งที่ถูกวิธี
หากจะเริ่มต้นดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม ต้องมาเริ่มจากการนั่ง เพราะท่านั่งที่ดี และการจัดสิ่งของให้หยิบจับสะดวก อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม ก็จะทำให้ป้องกันอาการโรคนี้ได้ ซึ่งท่านั่งที่ถูกต้องนั้นทำตามขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
- จอภาพคอมพิวเตอร์อยู่ระดับเดียวกับสายตา ห่างจากตา 12-18 นิ้ว (ถ้าจอแบน) ห่างจากตา 18-24 นิ้ว (ถ้าจอแบบเก่า)
- ไม่ยกไหล่ขณะพิมพ์งาน ปรับพนักพิมพ์ 100-100 องศา
- ศอกตั้งฉากกับลำตัว , คียบอร์ดอยู่ระดับเดียวกับเมาท์ ไม่อยู่ในลิ้นชัก
- สะโพกและขาต้องตั้งฉากกัน ความสูงของเก้าอี้ต้องพอดี
- มีที่วางพักเท้าเวลานั่งทำงานนาน เพื่อไม่ให้เท้าลอยขึ้นมา
- ทำงานไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง ควรลุกเปลี่ยนท่าทางบ้าง อย่างน้อย 5-10 นาที
ส่วนสำหรับผู้ที่ทำงานกับพวกโน๊ตบุ๊ค หรือ เน็ตบุ๊คนั้น ให้ทำท่านั่งตามขั้นตอนดังนี้
- วางโน๊ตบุ๊คบนหนังสือกองสูงๆ ขึ้นมาจากขอบโต๊ะ จนให้จออยู่ระดับสายตา
- หาเมาท์ และแป้นพิมพ์มาต่อเพิ่ม ปรับทุกอย่างให้เหมือนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
- เวลาทำงานไปนานๆ ควรมีหมอนนุ่มมาวางพักข้อมือ
- ไม่นอนเล่นโน๊ตบุ๊ค เพราะจะทำให้สายตาเสียได้
- ไม่เล่นขณะที่แสงไฟไม่เพียงพอ หรือห้องมืดเกินไป
- พักสายตาและข้อมือ หากเล่นนานเกิน 1 ชั่วโมง
ซึ่งหากทำตามขั้นตอนท่านั่งที่ถูกต้องแล้ว จะไม่มีอาการปวดหลัง ปวดตา และนิ้วล็อกด้วย และนี่คือท่านั่งบำบัดโรคออฟฟิศ ซินโดรม แต่ยังมีวิธีป้องกันอื่นๆอีกที่จะช่วยแก้ปัญหานิ้วล็อค ปวดตา ได้ด้วย ติดตามได้ในตอนต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น